6คำถามที่ต้องรู้ วิธีขายสินค้าผ่าน Modern Trade ให้ปัง


โดย ภาณุพงศ์ พงศ์ติยะชวางกูร

หลังจากที่เราได้เตรียมเอกสารและสินค้าเพื่อทำการแนะนำ
ต่อฝ่ายจัดซื้อไปแล้ว หากได้รับการพิจารณาให่เข้าไปทำการ
พรีเซนต์นั้น ซึ่งการเจอหน้ากันครั้งแรกเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ
งานจัดซื้อซึ่งเจ้าหน้าที่จัดซื้อในห้างจะไม่ฟังเรามากนัก เพราะ
จัดซื้อ 1 ท่านต้องดูแลสินค้ามากกว่า 100 รายการหรือ
มากกว่า 10 บริษัทฯ ดังนั้นจัดซื้อจะไม่ไม่มีเวลาคุยอะไรกับเรา
มาก คำถามของจัดซื้อเกือบ 100% มีคำถามดังนี้

1.ให้ GP เท่าไร มีอะไร Support บ้าง ราคาโปรโมชั่น Net. เท่าไร
2.มีค่าเปิดหน้าบัญชีแพงนะสู้ไหวหรือไม่
3.มี Back Margin 1,2,3,4,5,6,7…………………….ตามนี้นะ
ลดไม่ได้  ไหวไม่ไหวมาคุยกัน
4.มีค่า DC ต้องไปต่อรองกับฝ่ายกระจายสินค้าดู ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ประเภทสินค้า
5.ไปทำราคามาให้ถูกกว่านี้ สู้คู่แข่งไม่ได้หรอก ราคานี้ เข้ามา
ก็ตายในห้างฯ
6.ห้างฯ มีพื้นที่แค่นี้นะ ไม่มีที่วางสินค้าใหม่ ถ้ามีสินค้าใหม่
ต้องขายได้มากกว่าเดิม ของเดิมก็ขายอยู่ถ้าเอาสินค้า
ออก 1 ตัวเอาของคุณแทน ต้องได้มากกว่าเดิม

นั่งฟังจบแล้วนั่งเพลีย ก่อนอื่นต้องตั้งสติให้ดีก่อนอย่าให้เค้ารู้
สักว่าเรากลัว แต่ถ้าเป็นบริษัทเล็กๆ คงเดินกลับบ้านด้วย
ความละเหี่ยใจ ว่าที่เราอุตาส่าห์ ตั้งใจผลิตสินค้าดีๆ มาให้
ผู้บริโภคได้ใช้กันในตลาดทำไมถึงยากเย็นแสนเข็นในการจะ
นำสินค้าของตัวเองไปขายใน Modern Trade ซึ่งก็ไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงได้ว่าจำเป็นต้องขายเพราะหากไม่ขายก็ไม่มีใครรู้จัก
อีกอย่างด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภค (Consumer Behavior)
ของคนไทยก็เปลี่ยนไป และร้านยี่ปั้ว ซาปั้ว (Traditional Trade
ที่ทยอยปิดกันอย่างต่อเนื่อง)

ที่นี้จะขยายความ คำถามของห้างฯ ที่เราไปเสนอสินค้าว่า
ความหมายของแต่ละข้อคืออะไร โดยจะบรรยายง่ายๆ และ
ยังไม่ลงลึกมากให้ผู้อ่านได้เข้าใจง่าย ดังนี้

1.ให้ GP เท่าไร มีอะไร Support บ้าง ราคาโปรโมชั่น Net. เท่าไร
GP (gross profit) คิดเป็น % หรือ บางห้างฯ เรียก Font Margin
คือส่วนต่างราคาขายปลีกในร้าน ลบด้วย ราคาที่ทางบริษัทส่งให้
ไม่รวม vat7 หารด้วย ราคาขายปลีก (ไม่รวม vat7%) จะเป็น %
ออกมา มากน้อยขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าของแต่ละกลุ่มสินค้า
ส่วนมากห้างจะเรียกสูง มากกว่า 20%

2.มีค่าเปิดหน้าบัญชีแพงนะสู้ไหวหรือไม่
ค่าเปิดหน้าบัญชีหมายถึงค่าแรกค่า Listing Fee หรือค่า
ธรรมเนียมในการนำสินค้าเข้าไปขายอาจคิดเหมารวม หรือ
แยกแต่ละ items สินค้า เป็นตัวๆ ไป ห้างใหญ่ๆ คิดหลักแสน
ถึงหลักล้านบาทต่อ 1 บริษัทฯ ส่วนห้างเล็กๆ คิดหลักหมื่นถึง
หลักแสน

3.มี Back Margin 1,2,3,4,5,6,7…………………….ตามนี้นะ
ลดไม่ได้ ไหวไม่ไหวมาคุยกัน

Back Margin หรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆ คิดจากราคาส่งห้าง (ไม่รวม
vat7%) มีหลายรายการเช่น ค่า Rebate (ค่าตั้งเป้าหมายยอดขาย)
ค่า Marketing Fee, ค่าส่วนลด Anniversary, ค่าฉลองเปิดสาขาใหม่,
ค่าลงเมล์ ลงโบชัวร์ (เวลาลง mail ต้องมีค่าชดเชยราคาขาย
(Compensate) โดยห้างยังคงได้ % GP เท่าเดิม, ค่า Tag/Technical
Brand (ข้อมูลการใช้สินค้า), ค่า Display สินค้า, ค่าใช้บริการระบบ
คอมพิวเตอร์ห้างฯ เช่นระบบ EDI, มีมากมายที่ห้างจะต้องขึ้นมาเพื่อ
เรียกเก็บจากบริษัทฯ รวมๆ แล้วก็มากอยู่ ขึ้นอยู่กับการเจรจาต่อรอง

4.มีค่า DC ต้องไปต่อรองกับฝ่ายกระจายสินค้าดู ซึ่งขึ้นอยู่กับ
ประเภทสินค้า

DC Allowance คือค่ากระจายสินค้าจากคลังของห้างไปสาขาต่างๆ
อาจคิดเป็น % จากยอดส่ง (บาท) หรือคิดเป็นกล่อง คำนวณจาก
น้ำหนัก หรือขนาดของกล่องสินค้า

5.ไปทำราคามาให้ถูกกว่านี้ สู้คู่แข่งไม่ได้หรอก ราคานี้ เข้ามา
ก็ตายในห้างฯ

อันนี้ต้องกลับมาคำนวณต้นทุนสินค้าก่อนว่าราคาที่เสนอ หลังจาก
หักค่าใช้จ่ายห้าง ตามข้อ 1,2,3,4 แล้วทางบริษัทฯ เหลือหรือไม่

6.ห้างฯ มีพื้นที่แค่นี้นะ ไม่มีที่วางสินค้าใหม่ ถ้ามีสินค้าใหม่ต้องขาย
ได้มากกว่าเดิม ของเดิมก็ขายอยู่ถ้าเอาสินค้าออก 1 ตัวเอาของคุณ
แทน ต้องได้มากกว่าเดิม

ข้อนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าบริษัทฯ จะสู้ต่อหรือว่ากลับ
มานั่งทบทวนอีกหลายๆ รอบ

              สนับสนุนโดย             
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)



อ่านนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...และบทวิเคราะห์อื่นๆได้ที่

https://www.facebook.com/magketingonline/

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม