Cartoon Character เมื่อของเล่นกลายมาเป็นสิ่งทำเงิน

จากตัวการ์ตูนที่โลดแล่นอยู่ในหน้ากระดาษหนังสือการ์ตูน มาสู่
จอแก้ว และพัฒนามาเป็นแอนิเมชั่น กระทั่งหลุดจากกรอบแคบๆ
เหล่าน้นออกมาสู่โลกธุรกิจ
เป็นการต่อยอดทางบนเส้นทางการค้าที่ผสานการตลาดระหว่าง
ความชื่นชอบ หลงใหล คลั่งไคล้และการตลาดเข้าไว้ด้วยกันได้
อย่างกลมกลืน มีผลต่อการสร้างความรู้สึกร่วมตามบุคลิกตัว
การ์ตูนนั้นๆ
เมื่อจับการตลาดมาใส่ให้กับการ์ตูน คาแรคเตอร์ จึงเกิดการต่อ
ยอดโดยการขายโฆษณาให้กับสินค้าที่สนใจจะใช้คาแรคเตอร์
เพื่อผลิตสินค้าต่างๆ (character licensing)
ประชาสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชม ที่ส่วนมากแฟนของคาแรคเตอร์
เหล่านี้
ผู้ประกอบการมองว่า แนวทางนี้จะเป็นการสร้าง “ไลฟ์สไตล์”
ให้กับสินค้าหรือแบรนด์ที่ต้องการเข้าถึงลูกค้าในทุกช่วงอายุ
ทุกไลฟ์สไตล์ ซึ่งตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทั้งด้าน
ฟังก์ชันนอลและอีโมชันนอล
สำหรับการสื่อสารผ่านคาแรคเตอร์มักปรากฏขึ้นใน 2 กรณี
กรณีที่ 1.การนำคาร์แรคเตอร์ของตัวการ์ตูนที่ผู้บริโภค
ส่วนใหญ่คุ้นเคยและจดจำได้ มาเชื่อมโยงเข้ากับตราสินค้า
หรือ เข้ามาเป็นส่วนส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการขาย
กรณีที่ 2 เป็นการพัฒนาคาแรคเตอร์ด้วยอะมิเมชั่น
( Animation) ขึ้นมาใหม่ เพื่อให้มีคาแรคเตอร์สอดคล้อง
กับการวางตำแหน่งทางการตลาด
สำหรับกรณีของ"ตัวการ์ตูน" จะง่ายต่อการดึงดูดความสนใจ
เนื่องจากการ์ตูนจะมีคาแรคเตอร์เฉพาะตัวตามเรื่องราว ซึ่ง
แต่ละตัวก็จะมีคาแรคเตอร์เดียวตลอด ไม่ว่าจะเป็นยุคใดสมัยใด
ฉะนั้นความน่ารักของการ์ตูนจึงไม่เคยเปลี่ยนสภาพตาม อายุ
ทั้งยังควบคุมได้ ที่สำคัญยังสามารถสื่อบุคลิกได้ชัดเจน โดย
คาร์แรคเตอร์ของการ์ตูนที่ถูกมาใช้มาก มักจะมาจากตระกูล
วอลล์ ดิสนีย์ และจากฝั่งญี่ปุ่น
สนับสนุนโดย
นิตยสารแมกเก็ตติ้ง (Magketing)

สามารถดาวน์โหลดนิตยสารฉบับเต็ม...ฟรี...ได้ที่
http://www.ebooks.in.th/ebook/36718/magketing_vol11/
(วิธีดาวน์โหลดไฟล์ให้ Click ปุ่ม >> คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดไฟล์)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น